United Intellectual Disabilities (ID) Network in  the Greater Mekong Sub-Region

 

เครือข่ายคนพิการทางสติปัญญา ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (United Intellectual Disabilities (ID) Network in the Greater Mekong Sub-Region) 

ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ศพอ.) เป็นสำนักงานเลขาธิการเครือข่ายคนพิการทางสติปัญญา ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ตั้งแต่ปี 2556 โดยเมื่อวันที่ 4–5 กันยายน พ.ศ. 2556 ได้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับกลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิ์ตนเองของคนพิการทางสติปัญญาในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจัดโดยกลุ่มดาวเรือง (กลุ่มผู้พิทักสิทธิ์ตนเองของคนพิการทางสติปัญญาในประเทศไทย) สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย และ ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แห่งประเทศไทย องค์กร Inclusion Japan รัฐบาลญี่ปุ่น และกองทุน Japan-ASEAN Integration Fund (JAIF) ณ โรงแรม เซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร

Mekong ID

 

มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 98 คน โดยมีตัวแทนของคนพิการทางสติปัญญาและสมาชิกในครอบครัวจากกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะกลุ่มตัวแทนคนพิการทางสติปัญญา จากกลุ่ม Rose ประเทศกัมพูชา กลุ่ม Talent ประเทศลาว กลุ่ม Future Star ประเทศเมียนม่าร์ กลุ่มดาวเรือง ประเทศไทย และกลุ่ม My Future Group ประเทศเวียดนาม อีกทั้งยังมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ผู้แทนจากองค์กร Inclusion Japan เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ด้วย โดยในเวทีการประชุมครั้งนี้ การรวมกลุ่มเครือข่ายคนพิการทางสติปัญญาตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการทางสติปัญญาได้แสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ
  2. เพื่อส่งเสริมให้คนพิการทางสติปัญญาให้มีความมั่นใจในตนเอง
  3. เพื่อสนับสนุนการทำงานเป็นทีมของคนพิการทางสติปัญญาในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
  4. เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆกับเพื่อนๆผู้พิการ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
  5. เพื่อแบ่งปันเรื่องราวที่ประสบความสำเร็จกับเพื่อนๆผู้พิการ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
  6. เพื่อช่วยเหลือเพื่อนผู้พิการให้ใช้ชีวิตอิสระในชุมชนมากขึ้น
  7. เพื่อทำงานร่วมกับเพื่อนผู้พิการ สมาชิกในครอบครัว และผู้สนับสนุนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
  8. เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความสำเร็จของชีวิต ความท้าทาย และความหวังในกลุ่มเพื่อนและหน่วยงานพันธมิตรอื่นๆต่อสาธารณะ
  9. เพื่อสะท้อนเสียงของคนพิการทางสติปัญญาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
  10. เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สนับสนุนที่เป็นมิตรและเข้าใจชีวิต ความฝัน และความสามารถของคนพิการทางสติปัญญา

ที่ผ่านมา มีการจัดกิจกรรมของแต่ละกลุ่มในระดับประเทศเสมอมา ซึ่งในส่วนของเครือข่ายนั้นก็มีการเตรียมการเพื่อจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาศิลปะในประเทศเมียนม่าร์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้คนพิกาทางสติปัญญาให้กับประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ในปี 2563 

Field visit to Dao Roeung Group (washing liquit)