สหพันธ์ผู้สูญเสียการได้ยินและหูหนวกแห่งเอเชียและแปซิฟิก (The Asia-Pacific Federation of the Hard of Hearing and Deafened: APFHD)
ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ศพอ.) ดำเนินงานในฐานะสำนักงานเลขาธิการสหพันธ์ผู้สูญเสียการได้ยินและหูหนวกแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APFHD) ตั้งแต่ปี 2555 สหพันธ์ผู้สูญเสียการได้ยินและหูหนวกแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APFHD) เป็นเครือข่ายระดับภูมิภาคขององค์กรที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการของคนที่มีปัญหาการได้ยินและหูหนวกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
สหพันธ์ผู้สูญเสียการได้ยินและหูหนวกแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APFHD) จัดให้มีเวทีเพื่อรวมเสียงของผู้คนนับล้านที่สูญเสียการได้ยินและหูหนวก ปลุกจิตสำนึกและปกป้องสิทธิของพวกเขาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
สหพันธ์ผู้สูญเสียการได้ยินและหูหนวกแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APFHD) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2555 ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทยโดยกลุ่มตัวแทนผู้สูญเสียการได้ยินและหูหนวกจากประเทศบังคลาเทศ กัมพูชา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มองโกเลีย เมียนมาร์ เนปาล นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินีและเวียดนาม
วิสัยทัศน์
สังคมที่ทุกคนอยู่ร่วมกัน ซึ่งทำให้สิทธิและผลประโยชน์แก่ผู้สูญเสียการได้ยินและ หูหนวกในเอเชียและแปซิฟิกได้เกิดขึ้นจริง
ภารกิจ
เพื่อทำหน้าที่เป็นเครือข่ายอิสระสำหรับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียการได้ยินและหูหนวกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
วัตถุประสงค์
- สร้างความเข้มแข็งแก่บุคคลที่สูญเสียการได้ยินและหูหนวกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกให้ดำรงวิถีชีวิตที่เป็นอิสระด้วยความมั่นใจ
- สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มช่วยเหลือตนเองในท้องถิ่น และองค์กรช่วยเหลือตนเอง ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของสหพันธ์ฯ
- ประสานงานและส่งเสริมความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคและระดับภูมิภาครวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ระหว่างสมาชิกของสหพันธ์ฯ เพื่อสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค
- ทำงานร่วมกับองค์กรคนพิการระดับรากหญ้า และองค์กรภาคเอกชนอื่นๆ องค์กรรัฐบาลระดับท้องถิ่นและระดับชาติ องค์กรระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ หน่วยงานสหประชาชาติและองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ ในการเชื่อมโยงประเด็นผู้สูญเสียการได้ยินและหูหนวกสู่การขับเคลื่อนงานด้านความพิการและการพัฒนา
- ประสานงานในการรวบรวมข้อมูลของผู้สูญเสียการได้ยินและหูหนวกในเอเชียและแปซิฟิก
- ช่วยเหลือการพัฒนาทางเทคโนโลยี รวมถึงเทคโนโลยีอุปกรณ์เครื่องช่วย การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีการสื่อสาร
- ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่สามารถเข้าถึงได้สำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินและหูหนวกในสถาบันการศึกษาและสถานที่ทำงานในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
ในปี 2562 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวอย่างแข็งขันของสมาชิกแต่ละประเทศ คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ ได้ทำการสำรวจสำหรับ 'World Hearing Day (WHD) 2019' สหพันธ์ฯได้ใช้แบบสำรวจเพื่อจัดทำรายงานเกี่ยวกับการรับรู้เกี่ยวกับการสูญเสียการ ได้ยิน หูและการรักษาการได้ยินเพื่อคนทั้งมวลในเอเชียและแปซิฟิก และจะแบ่งปันข้อมูลกับองค์การอนามัยโลกเพื่อใช้ในรายงาน WHD 2019 สิ่งนี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่สูญเสียการได้ยินและหูหนวก สหพันธ์ฯยังร่วมมือกับบริษัทเอกชนที่จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ที่เรียกว่าเรียลไทม์
- 1074 views