เครือข่ายออทิสติกอาเซียน (ASEAN Autism Network)
ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ศพอ.) ได้เป็นสำนักงานเลขาธิการให้กับเครือข่ายออทิสติกอาเซียนตั้งแต่ปี 2553 โดยเริ่มจากในเดือนมกราคม 2553 ในการประชุมเชิงปฏิบัติการของศพอ. ครั้งที่ 5 เรื่อง ‘การพัฒนาความสามารถขององค์กรพึ่งตนเองขององค์กรคนพิการ (Capacity Development of Self-Help Organizations of Persons with Disabilities: CDSHOD)’ จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ โดยในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้มีการนำเสนอแนวคิดในการสร้างเครือข่ายออทิสติกในภูมิภาคอาเซียนโดยสมาชิกครอบครัวของชุมชนออทิสซึมจากประเทศบรูไน เมียนม่าร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนามและไทย มีข้อเสนอว่าเครือข่ายเป็นเวทีในการเชื่อมโยงและสร้างเสริมความเข้มแข็งกลุ่มผู้ปกครองและองค์กรช่วยเหลือตนเองในการทำงานเพื่อสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรกับบุคคลออทิสติกในภูมิภาคอาเซียน เพื่อรองรับการเคลื่อนไหวนี้ ศพอ.ได้รับมอบหมายจากเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการทางออทิสติกขึ้นมา
เครือข่ายออทิสติกอาเซียน (AAN) เปิดตัวเป็นทางการในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านออทิสซึมที่ ศพอ. จัดขึ้นโดยความร่วมมือกับ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น ณ กรุงเทพฯ ในวันที่ 13-15 ธันวาคม 2553 การรวมตัวพิเศษครั้งนี้ได้นำผู้แทน 27 คนจาก 9 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนม่าร์ ฟิลิปปินส์ ไทยและเวียดนาม ผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีบุคคลออทิสติกในครอบครัว แนวคิดหลักของการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ คือ 'ครอบครัวต้องมาก่อน'
วิสัยทัศน์
- กลุ่มครอบครัวที่สนับสนุนกันเองในความร่วมมือ การประสานงานและร่วมกันในการพัฒนาหลักสูตรออทิสติกแบบองค์รวมในระดับท้องถิ่น ราคาไม่แพงและสามารถเข้าถึงได้ กลยุทธ์และโปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการจะไม่มีการเลือกปฏิบัติในการสนับสนุนในระดับครอบครัว รวมถึงครอบคลุมถึงครอบครัวที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญกว่านั้นโครงสร้างครอบครัวแบบขยายซึ่งเป็นรากฐานของประชาคมอาเซียนจะยังคงเป็นพื้นฐานของแผนงานและยุทธศาสตร์ในการพัฒนา
- การพิทักษ์สิทธิ์บุคคลออทิสติกในภูมิภาคอาเซียน ได้ทำงานในระดับชาติและอนุภูมิภาคเพื่อส่งเสริมสิทธิของบุคคลออทิสติก ผู้พิทักษ์สิทธิ์สามารถได้รับการสนับสนุนให้จัดตั้งกลุ่มของตนเองในระดับชุมชน
- การอภิปรายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับออทิซึมเพื่อส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูลและดำเนินการใน
- ในวิธีการทั่วๆไป
ภารกิจ
เพื่อสนับสนุน ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่กลุ่มครอบครัวของบุคคลออทิสติก โดยร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียนและทั่วโลก
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ความรู้ พัฒนา และให้โอกาสแก่กลุ่มครอบครัวพึ่งตนเอง ช่วยให้พวกเขาเติบโตไปสู่การบรรลุมาตรฐานระดับโลกโดยอ้างอิงถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิคนพิการ (UNCRPD) และอนุสัญญาระดับนานาชาติและของภูมิภาคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับออทิสติก เครือข่ายได้มีจำนวนสมาชิกครบสมบูรณ์ในฐานะประเทศสมาชิก 10 ประเทศ เมื่อสิงคโปร์เข้าร่วมเครือข่ายในปี 2559 สมาชิกทุกประเทศกำลังดำเนินการอย่างแข็งขันเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของบุคคลออทิสติกในประเทศของของตน
ในปี 2562 โดยความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รัฐบาลลาว สมาคมออทิสติกลาว เอเชียเซ็นเตอร์ มูลนิธิญี่ปุ่น และพันธมิตรอื่น ๆ เครือข่ายออทิสติกอาเซียนได้ส่งผู้แทนกว่า 50 คน รวมถึงนักกีฬาที่มีศักยภาพที่เป็นบุคคลออทิสติก ผู้ปกครอง/สมาชิกในครอบครัวของพวกเขาในฐานะผู้ฝึกสอนจากภูมิภาคอาเซียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม 'การฝึกอบรมผู้ฝึกสอน (Training of Trainers: TOT) ด้านการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมผ่านกีฬาที่คนพิการมีส่วนร่วม (Disability Inclusive Sports: DIS) ในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงและญี่ปุ่น ณ นครเวียงจันทน์ ตั้งแต่วันที่ 7 - 13 ก.ค. 2562
กิจกรรมดังกล่าวได้รวบรวมเจ้าหน้าที่และสมาชิกเครือข่ายออทิสติกอาเซียน (AAN) เพื่อเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการบริหาร เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2562 เครือข่ายออทิสติกอาเซียนเตรียมที่จะเผยแพร่หนังสือครบรอบ 10 ปีของเครือข่ายฯที่ชื่อ 'ฉลอง 10 ปีที่ยิ่งใหญ่ของ AAN'
นอกจากนี้เครือข่ายออทิสติกอาเซียน ยังร่วมมือกับศพอ. สำนักงานเลขาธิการอาเซียนและกองทุน Japan-ASEAN Integration Fund (JAIF) เพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการภูมิภาคอาเซียนสำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับออทิสติกในเดือนตุลาคม ปี 2562 ในกรุงเทพฯ และล่าสุดเครือข่ายออทิสติกอาเซียนได้รับการรับรองเป็นองค์กรสมาชิกที่เป็นทางการของสำนักงานเลขาธิการอาเซียนในวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ในขณะเดียวกันสำนักงานเลขาธิการเครือข่าย
ออทิสติกอาเซียนจะย้ายจาก ศพอ.ไปยัง London School Centre for Autism Awareness (LSCAA) ที่กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย
- 2442 views