Search # to go to Page Seach * to go to Sections เอกสารสรุปบทเรียนการพัฒนาผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โครงการความร่วมมือ ESCAP-APCD “การพัฒนาการพึ่งพาตนเองของผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญาและครอบครัวในประเทศไทย” โลโก APCD #Page 2 ข้อมูลพื้นฐาน การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนพิการในประเทศไทยอย่างรุนแรง รวมถึงคนพิการทางสติปัญญา พวกเขาย่อมประสบปัญหามากขึ้นกว่าเดิมต่อการเข้าถึงอาหารและโภชนาการที่จำเป็นต่อร่างกาย รวมถึงการออกกําลังกายเป็นประจํา นอกจากนั้นพวกเขายังขาดทักษะในการพึ่งตนเองและใช้ชีวิตอย่างอิสระในสถานการณ์ช่วงการระบาดของโควิด-19 ความร่วมมือกันอย่างแนบแน่นกับผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญา พ่อแม่และสมาชิกในครอบครัว รวมถึงผู้สนับสนุน (พลังสามเหลี่ยมความร่วมมือเพื่อคนพิการทางสติปัญญา หรือเรียกสั้นๆ ว่า “สามเหลี่ยมแห่งความร่วมมือ”) ศพอ. มีความพยายามเสริมสร้างศักยภาพ ในกลุ่มคนพิการทางสติปัญญา เพื่อให้พวกเขามีความความมั่นใจทำกิจกรรมนำไปสู่ชีวิตที่มีสุขภาพแข็งแรง มีความมั่นคงทางด้านอาหาร และดำรงชีวิตได้อย่างอิสระในช่วงระหว่างและภายหลังการระบาดของโควิด-19 และอยู่รอดได้อย่างมีความสุข ชื่อโครงการ การพัฒนาการพึ่งพาตนเองของผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญาและครอบครัวในประเทศไทย วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญาในบริบทของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ผลลัพธ์ โครงการสามารถพัฒนาศักยภาพ ความรู้และทักษะที่จําเป็นในการใช้ชีวิตให้มีสุขภาพดี มีความมั่นคงด้านอาหาร และใช้ชีวิตเป็นอิสระแม้ในระหว่างและหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญาและครอบครับ ที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่ กลุ่มดาวเรือง กรุงเทพมหานคร มูลนิธิบ้านสมานใจ และมูลนิธิดุลภาทร จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ดำเนินโครงการ ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียแปซิฟิก (ศพอ.) สถานที่ดำเนินกิจกรรม กรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูนและจังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย ระยะเวลาดำเนินโครงการ: กุมภาพันธ์ 2564 - พฤษภาคม 2565 #Page 3 พันธมิตรดำเนินโครงการฯ พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) มูลนิธิบ้านแห่งความหวัง มูลนิธิตะวันฉาย มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย บริษัทบลูดอท พาร์ทเนอร์ชิพ จำกัด เครือข่ายกลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (เครือข่าย United ID) และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หมายเหตุ กลยุทธ์สามเหลี่ยมแห่งความร่วมมือ (Triangle Collaboration Strategy: TCS) เป็นแนวทางการทำงานจากการสรุปบทเรียนการพัฒนาผู้พิทักษ์สิทธ์พิการทางสติปัญญา โดยกลยุทธ์นี้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือของบุคคลสามกลุ่มหลัก ได้แก่ ผู้พิทักษ์สิทธิ์ (กลุ่มบุคคลหลัก) พ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัว และผู้สนับสนุน (ได้แก่ ครู เจ้าหน้าที่ของ หน่วยงาน) ซึ่งต้องทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการทางสติปัญญา #Page 4 กิจกรรมภาพรวม 1. คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่มีความมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะสตรีพิการทางสติปัญญา 2. ดําเนินการจัดประชุมออนไลน์ทุกเดือนกับผู้เข้าร่วมโครงการฯ และคณะวิทยากรที่เกี่ยวข้อง 3. สํารวจพื้นที่เพื่อการประชุมเชิงปฏิบัติการและฝึกปฎิบัติแบบพบปะ ที่จังหวัดนครนายก จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565 และจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ระหว่าง วันที่ 16-18 มีนาคม 2565 4. จัดทําเนื้อหาการฝึกอบรมและเตรียมงานด้านโลจิสติกส์เพื่อความเรียบร้อยในการจัดงาน 5. ดําเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 ณ จังหวัดลําพูน (5–11 เมษายน 2565) 6. ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดปทุมธานี (3–8 พฤษภาคม 2565) 7. ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านทุนสนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในการเพิ่มศักยภาพด้านกิจกรรมการปลูกผลผลิต 8. จัดการพบปะ ประชุมติดตามผลกับกลุ่มเชียงใหม่และกลุ่มกรุงเทพฯ เพื่อติดตามแผนปฎิบัติการให้เป็นรูปธรรม (23–25 พฤษภาคม 2565) 9. จัดทำรายงานและเอกสารแนวปฏิบัติที่ดีและสรุปบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากโครงการฯ 10. พิมพ์และเผยแพร่รายงานและเอกสารสำคัญๆ 11. จัดการประชุมออนไลน์เพื่อแบ่งปันประสบการณ์กับองค์กรภาคีเครือข่าย (27 พฤษภาคม 2565) #Page 5 ผลสำเร็จของโครงการฯ 1.กิจกรรมฝึกอบรมทั้งสองครั้งแบบพบปะกัน สามารถเพิ่มทักษะ ความสามารถ และทัศนคติที่ดีด้านสุขภาพ ความมั่นคงด้านอาหาร และใช้ชีวิตได้อย่างอิสระในทุกสถานการณ์แม้ระหว่างและหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 2.กลยุทธ์สามเหลี่ยมแห่งความร่วมมือ (ความร่วมมือระหว่างผู้พิทักษ์สิทธิ์ พ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัว และผู้สนับสนุน) ยังคงได้การตอบรับเป็นอย่างดีและเป็นสิ่งจําเป็น เพื่อการส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมทุกท่านในโครงการฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรี ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและมารดาที่หย่าร้าง เลี้ยงลูกพิการตามลำพัง โดยทำให้ พวกเขามีความมั่นใจและร่วมมือกับวิทยากร ทำให้กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ 3.จากการที่มีวิทยากรต้นแบบที่เป็นคนพิการซึ่งใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ทักษะต่างๆ เพื่อการนําไปสู่ชีวิตที่มีสุขภาพดี มีความ มั่นคงด้านอาหาร และใช้ชีวิตแบบพอเพียงในระหว่างและหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 4.จากข้อเสนอแนะ “เสียงจากคนพิการทางสติปัญญาที่จะต้องได้ยิน” ผู้เข้าร่วมได้เสนอความปรารถนาที่จะสื่อสารกับสังคมเกี่ยวกับความหวังที่จะทํางานร่วมกับเครือข่าย พัฒนาเครือข่ายการทํางานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา ข้อกังวลของพวกเขาในอนาคต 5.โครงการได้สนับสนุนพันธะสัญญาหลักระหว่างประเทศ ได้แก่ Incheon Strategy to “Make the Right Real” อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ และเป้าหมายแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีกิจกรรมรูปธรรมได้ดำเนินการตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ #Page 6 บทเรียนของโครงการฯ 1.บทเรียนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการเสริมสร้างความเข้มแข็งคนพิการทางสติปัญญา คือการกระตุ้นกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันกับผู้ปกครองและผู้สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายฯ และชุมชน คนพิการทางสติปัญญาจะได้รับการบูรณาการเข้ากับชุมชนเพื่อให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้นในการพึ่งตนเองในโอกาสต่อไป 2.แม้ว่าการประชุมออนไลน์สะดวกและเป็นประโยชน์สําหรับการสื่อสารในช่วงการระบาดของโควิด-19 แต่ก็ไม่สามารถแทนที่การฝึกอบรมแบบพบปะได้อย่างสมบูรณ์ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแบบพบปะ ซึ่งรวมถึงการทัศนศึกษามีความสําคัญในการช่วยเหลือผู้เข้าร่วมโครงการในการทําความเข้าใจ การประยุกต์ใช้งานจริง มีความสุข สนุกสนาน เรียนรู้ร่วมกันด้านความมั่นคงทางอาหารและการพึ่งตนเอง ความยั่งยืน 1.การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบพบปะทั้งสองครั้ง ไม่เพียงแต่จะพัฒนาศักยภาพด้านความมั่นคงทางอาหาร การสร้างรายได้และการพึ่งพาตนเองในบริบทของโควิด-19 แต่ยังเสริมสร้างเครือข่ายและการทํางานร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานจริงที่อยู่ใกล้เคียงกับบ้านเกิดของผู้เข้าร่วมโครงการฯ 2.เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกกลุ่มฯ เพื่อน ครอบครัว และผู้สนับสนุนต่างๆ ผู้ร่วมโครงการฯมีความตั้งใจนำบทเรียนจากพลังสามเหลี่ยมแห่งความร่วมมือที่ได้รับจาก ศพอ. ขยายผลมากที่สุดเข้าที่ทำได้ 3.ความร่วมมือที่เข้มแข็งได้เกิดขึ้นระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการฯจากจังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพฯ รวมถึงวิทยากรในพื้นที่และพันธมิตรอื่นๆ ที่เพิ่มศักยภาพใหม่ๆ ให้ทั้งสอง กลุ่มเข้มแข็งเติบโต ยั่งยืนร่วมกัน เช่น BlueDot Partnerships Co., Ltd.มีการนัดหมายผ่านการประชุมออนไลน์ประจำเดือนเป็นประจำ 4.ผู้เข้าร่วมโครงการจากทั้งสองพื้นที่ มีแผนการสร้างศูนย์เรียนรู้สำหรับคนพิการทางสติปัญญา และยังคงเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างกัน สนับสนุนซึ่งกันและกันในการดําเนินกิจการธุรกิจ เพื่อสังคมและปกป้องสิทธิ์ของผู้พิทักษ์สิทธิ์คนพิการทางสติปัญญา 5.หลังจากโครงการสิ้นสุด ผู้เข้าร่วมโครงการฯสามารถเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารและการพึ่งพาตนเองแบบพอเพียงผ่านเครือข่ายของพวกเขา และกลายเป็น บุคลากรที่สำคัญต่อไปในอนาคต เพื่อส่งเสริมการดํารงชีวิตอิสระและมีสุขภาพดีต่อไป #Page 7 ความท้าทาย ในระหว่างการดําเนินโครงการ มีผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อยู่หลายด้าน ซึ่งสามารถรวบรวมได้ดังต่อไปนี้ 1.การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่คาดเดาไม่ได้ ทําให้แผนกิจกรรมต่างๆ เลื่อนและเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง 2.ผู้เข้าร่วมโครงการบางท่านซึ่งมีความมุ่งมั่นที่จะเข้าร่วมการฝึกอบรมแบบพบปะ ต้องขอถอนตัวจากโครงการฯ เนื่องจากการผันผวนของสถานการณ์ และติดเชื้อโควิด-19 ก่อนที่จะเริ่มการฝึกอบรมทั้งสองครั้ง 3.ผลจากการระบาดของ โควิด-19 จําเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนสถานที่ฝึกอบรม ส่งผลให้ต้องสํารวจพื้นที่การจัดฝึกอบรมใหม่บ่อยครั้ง เพื่อที่จะได้พื้นที่ฝึกอบรมที่เหมาะสมที่สุด 4.เนื่องจากการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 จึงต้องแบ่งพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายเป็นสองแห่ง (กลุ่มกรุงเทพฯและกลุ่มเชียงใหม่) จึงทำให้ขาดโอกาสในการ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ร่วมกันโดยตรงระหว่างกลุ่มกรุงเทพฯและกลุ่มเชียงใหม่ 5.ในช่วงก่อน และระหว่างการฝึกอบรมแบบพบปะกัน ศพอ. ขอให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกท่านตรวจ ATK ทุก 2 วัน เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยง โดยมีการทำความเข้าใจ กับผู้เข้าร่วมโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญาอย่างใกล้ชิด #Page 8 เสียงสะท้อนจากผู้เข้าร่วม โครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพแบบพบปะ ครั้งที่ 1 นางสาวทิพย์วรรณ วงศ์โสม ผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญา มูลนิธิบ้านสมานใจ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย “ตอนที่ดิฉันเข้ารับการฝึกอบรม ดิฉันได้พบกับเพื่อนใหม่ ได้เรียนรู้แนวคิดพลังสามเหลี่ยมแห่งความร่วมมือโดยเจ้าหน้าที่ ศพอ. พวกเขาดูเป็นมิตร สอนวิธีการออกกําลังกายง่ายๆ ดิฉันพยายามลดน้ำหนักในช่วงโควิด-19 และไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่จะมา แม่และดิฉันต่างก็ได้รับประโยชน์จากการออกกําลังกายแบบง่ายๆ นอกจากนี้ ดิฉันก็สนุกกับการทําโปรตีนจากพืช น้ำหมักชีวภาพผลไม้ เรายังสามารถทํา ไข่เค็มสมุนไพรและเราต้องการขายให้กับเพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียง ในช่วงระหว่างและหลังโควิด-19 และที่ได้ตั้งใจไว้คือการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เพิ่มรายได้ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ขอชื่นชมโครงการความร่วมมือ ESCAP-APCD ขอขอบคุณค่ะ” นางสาวบัวชมพู วุฒิเดช ผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญา มูลนิธิดุลภาทรจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย “สิ่งที่ดิฉันชอบทําระหว่างการฝึกอบรม คือกิจกรรมตกปลาค่ะ มันเป็นสิ่งใหม่ ฉันรู้จักวิธีทําไข่เค็ม สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้และอยากแบ่งปันกับคุณปู่และคุณย่า และเพื่อนๆ คือการพึ่งตนเอง สามารถช่วยจัดการและอยู่กับสถานการณ์โควิด-19 ด้วยตัวเองได้และมีสุขภาพดีด้วยค่ะ ขอบคุณโครงการ ESCAP-APCD และมูลนิธิดุลภาทรที่ให้โอกาสฉันได้เรียนรู้เพิ่มเติมวิธีการจัดการกับสถานการณ์” #Page 9 นางนิตยา ประเสริฐศรี ผู้ปกครอง จากมูลนิธิบ้านสมานใจ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย “อันที่จริงการเข้าร่วมหลักสูตรนี้เป็นโอกาสที่ดีสําหรับครอบครัวเราค่ะ การระบาดของโควิด-19 แน่นอนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเรามาก ฉันเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวค่ะ ในช่วงการระบาดใหญ่นั้น ลูกสาวของฉันมีน้ำหนักมากขึ้น ในขณะที่ฉันต้องต่อสู้กับค่า ใช้จ่ายรายวัน วิทยากรให้ความสําคัญกับความมั่นคงทางอาหารมากกว่าการสร้างรายได้และก็เน้นให้เราออกกําลังกายง่ายๆ ที่บ้าน นี่เป็นวิถีชีวิตที่ต้องสนับสนุนเพราะเราจะต้องอยู่กับ โควิด-19 อีกนานและก็ไม่รู้ว่าการระบาดนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด ดิฉันจะนำเทคนิคการถนอมอาหารไปใช้เพื่อช่วยให้ครอบครัวประหยัดค่าใช้จ่ายและมุ่งมั่นที่จะใช้ชีวิตแบบพอเพียง ดิฉันรู้สึกสนุกกับการทําไข่เค็มสมุนไพรและทำปลาแดดเดียวกับลูกสาว และตระหนักว่า การยอมรับโควิด-19 เป็นความจริงของชีวิต” นายธนวัฒน์ ลำพองพวง วิทยากรจากมูลนิธิตะวันฉาย “ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งเป็นคนพิการทางสติปัญญามีส่วนร่วมในการทำเกษตรธรรมชาติ เป็นเรื่องน่ายินดีครับ ผมดีใจมาก ในช่วงระหว่างและหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผมเชื่อว่าพวกเขาสามารถใช้แนวคิดของการทําเกษตรธรรมชาติแบบผสมผสานเพื่อการดําเนินชีวิตที่มีสุขภาพดี มีความมั่นคงทางด้านอาหารและอยู่แบบพอเพียง แม้ว่าผมจะพิการ แต่ผมเชื่อครับว่าคนพิการสามารถทําสิ่งต่างๆ ที่ยอดเยี่ยมได้ ผู้ปกครองและผู้สนับสนุนรวมถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย สามารถช่วยให้พวกเขาพึ่งตัวเองได้ในสังคม มันเป็นความท้าทายครับ โดยแต่ละขั้นตอนสามารถทำให้สําเร็จได้ทีละเล็กทีละน้อย เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นในสังคม ความสําเร็จจะยิ่งใหญ่ขึ้นและโดดเด่นมากขึ้น เมื่อพวกเขาได้พยายามร่วมมือกับพ่อแม่และผู้สนับสนุนครับ” #Page 10 โครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพแบบพบปะ ครั้งที่ 2 นายณรงค์ฤทธิ์ วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ (โอ๊ต) ผู้นํากลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญา (ดาวเรือง) กรุงเทพมหานคร “ผมตื่นเต้นมากที่ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมนอกสถานที่และรู้สึกว่าเราก็มีความสามารถเช่นกันที่จะต่อสู้กับสถานการณ์ โควิด-19 พวกเราสนุกกับกิจกรรมภาคปฏิบัติครับ เช่น การทําสวนหลังบ้านบนระเบียง ปลูกเห็ดในตะกร้า การทำไข่เค็ม การปลูกสมุนไพรไทย และการทำสบู่ธรรมชาติที่ไม่เหมือนใคร ผมคิดว่าสามารถนําไปใช้ได้ทันที ผมอยากขายสบู่ธรรมชาติเพื่อเสริมรายได้ของกลุ่มดาวเรือง ผมอยากจะขอบคุณโครงการความร่วมมือ ESCAP-APCD สําหรับโอกาสที่ยอดเยี่ยมนี้ ในการจัดการกับสถานการณ์โควิด-19 ผมเชื่อว่าถ้าเรามีโอกาสนัดประชุมครั้งต่อไป ก็จะแบ่งประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ให้กับสมาชิกท่านอื่นๆ แน่นอนครับ “ นางสาวพัชรินทร์ สุจริตวัฒนศักดิ์ (ส้ม) เลขานุการกลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญา (ดาวเรือง) กรุงเทพมหานคร “การล็อกดาวน์ช่วงโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเพื่อนๆ สมาชิกและตัวดิฉันเองเป็นอย่างมาก ที่ประเทศไทย ดิฉันเห็นคนสวมหน้ากากและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกัน โครงการนี้สอนให้เราพึ่งตนเอง ทำสวนผัก เพาะเห็ดในตะกร้า ทำไข่เค็มเป็นอาหาร และปลูกพืชสมุนไพร อย่างเช่น ฟ้าทะลายโจร เป็นอาหารและช่วยดูแลสุขภาพง่ายๆ ที่บ้าน ดิฉันเรียนรู้วิธีการ ออกกําลังกายแบบง่ายๆที่บ้าน ฉันขอขอบคุณหลักสูตรการฝึกอบรมนี้ ที่สอนทำสบู่สมุนไพรไทย มันง่ายสําหรับเราที่จะเพิ่มรายได้ เราจะขายบน Facebook ในอนาคต ขอขอบคุณสําหรับการฝึกปฏิบัติดีๆ ที่พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ปทุมธานีค่ะ” #Page 11 นางสุกัญญา ศรีสว่าง ผู้นำกลุ่มสมาชิกผู้ปกครอง กลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญา (ดาวเรือง) กรุงเทพมหานคร “เราอยู่กรุงเทพฯ แน่นอนว่าเราต้องซื้ออาหารรับประทานเสมอในช่วงการล็อคดาวน์โควิด-19 เราติดกับค่าใช้จ่ายรายวันที่ ต้องจ่าย ก่อนที่จะเข้ารับการฝึกอบรมนี้ เรายังนึกภาพไม่ออกว่า ผักสามารถปลูกบนคอนกรีตด้วยอุปกรณ์ง่ายๆ ได้อย่างไร แต่เป็นไปได้และง่ายอีกด้วย นอกจากนี้ เราก็ยังได้รับความรู้มากมายถึงวิธีการปลูกผักและ เพาะเห็ดในตะกร้า เพื่อความมั่นคงทางอาหารโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย เราสามารถเข้าถึงวัสดุสําหรับการทําสวนขนาดเล็กที่บ้านได้ มันเป็นสิ่งสําคัญที่เรามีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่จําเป็นในการเพิ่มศักยภาพสมาชิกผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญาและครอบครัวของพวกเขาในระหว่างและหลังโควิด-19 โครงการนี้มีประโยชน์มากสําหรับเรา ขอบคุณมากค่ะ!” ดร.สุชญา เฑียรแสงทอง วิทยากร/ ผู้อำนวยการ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ “สําหรับการสัมภาษณ์ครั้งนี้ ขอมอบบทกลอนนี้ค่ะ “เด็กพิการก็คือเด็ก หัวใจเล็กยังรู้ฝัน รู้สึกทุกสิ่งอัน เหมือนความฝันใครๆ มี” ขอเป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวในการร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ที่สวยงามให้กับเด็กๆ ต่อไป และขอให้จงเชื่อมั่นในพลังความรักอันยิ่งใหญ่จากสองมือหนึ่งหัวใจของพ่อแม่ที่ทรงพลังตลอดไป...นั่นคือสิ่งที่รู้สึกค่ะ” #Page 12-21 ภาคผนวก ภาพถ่ายกิจกรรม -การจัดการประชุมออนไลน์ประจำดือนกับผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและคณะวิทยากร -การประชุมออนไลน์แต่ละเดือนในกลุ่มผู้พักษ์สิทธิ์ กลุ่มครอบครัว ผู้สนับสนุน และเจ้าหน้าที่ ศพอ. -กระบวนการพัฒนาศักยภาพคนพิการทางสติปัญญาให้มีสุขภาพแข็งแรงมีความมั่นคงทางอาหารและพึ่งตนเองได้ในระหว่างและหลังการระบาดของ COVID-19 -การแบ่งปันความรู้ในระหว่างการฝึกอบรมออนไลน์ -นางสาวพัชรี ศรีสละ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมโอกาสและติดตามประเมินผล จากกองกองทุนและส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ได้นํา เสนอความสําคัญของโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการและแบ่งปันกรณีศึกษาความสําเร็จของโครงการฯ -การลงพื้นที่เพื่อสำรวจและเตรียมการฝึกอบรมโครงการความร่วมมือระหว่าง ESCAP-APCD ในพื้นที่จังหวัดนครนายก และปทุมธานี เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565 จังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16-18 มีนาคม 2565 การจัดการฝึกอบรม ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดลําพูน สําหรับกลุ่มเชียงใหม่ -ภาพถ่ายหมู่ผู้เข้าฝึกอบรมและคณะวิทยากรลงพื้นที่ฝึกปฎิบัติงานเกษตรอินทรีย์ -การส่งเสริมสุขภาพโดยการออกกําลังกายและกระตุ้นให้ผู้เข้าฝึกอบรมทำทุกวันในช่วงสถานการณ์โควิด-19 -การพัฒนาทักษะเพื่อให้แน่ใจว่าสมาชิกกลุ่มในจังหวัดเชียงใหม่ สามารถใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยและเป็นอิสระในระหว่างและหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 -การรวมกลุ่มเพื่อสะท้อนคุณภาพชีวิตด้วยคนพิการทางสติปัญญาไทยเพื่อรับมือกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 -รูปถ่ายหมู่ระหว่างพิธีเปิดการฝึกอบรม โดยมี นายพิรุณ ลายสมิต ผู้อำนวยการบริหาร ศพอ.ผู้เข้าฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ศพอ.และผู้สังเกตการณ์จากสมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย -หลังจากพิธีปิด ผู้เข้าฝึกอบรม คณะวิทยากร ได้ถ่ายภาพกลุ่มในกิจกรรมการฝึกอบรม ครั้งที่ 2 -คณะวิทยากรทั้ง 3 ท่าน ร่วมกันแบ่งปันมุมมองที่สําคัญของแผนปฏิบัติการของผู้เข้าร่วมอบรม เพื่อทำให้เกิดการปฎิบัติงานที่เป็นจริงได้ในขั้นต่อไป -เจ้าหน้าที่โครงการ ศพอ. แลกเปลี่ยนบทเรียนว่าด้วยกลยุทธ์การทํางานร่วมกันแบบสามเหลี่ยมแห่งความร่วมมือเพื่อเพิ่มศักยภาพของคนพิการทางสติปัญญาและครอบครัวในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง -ในระหว่างพิธีปิด ผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญาอ่านข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ “เสียงจากคนพิการทางสติปัญญาที่จะต้องได้ยิน” สะท้อนสิ่งที่พวกเขาได้ทํางานร่วมกับครอบครัวและผู้สนับสนุน -ผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญาแสดงความสามารถร่วมกิจกรรมการพึ่งพาตนเองในการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ -ศพอ.แนะนําท่ากายบริหารแบบง่ายๆให้ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถทําได้ที่บ้าน -ผู้เข้าร่วมถือใบประกาศนียบัตรและเจ้าหน้าที่ APCD โพสท่ากับ Doo-Doo มาสคอตของพิพิธภัณฑ์ในการถ่ายรูปหมู่ -กิจกรรมติดตามผลครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นที่กรุงเทพฯและปทุมธานีวันที่ 23-25 ​​พฤษภาคม 2565 -เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 APCD ได้สรุปบทเรียนสำคัญที่ได้เรียนรู้และความสำเร็จในการประชุมออนไลน์กับภาคีเครือข่ายในประเทศไทย #Page 22 ข้อเสนอแนะจากกลุ่มพิทักษ์สิทธิ์ฯ ชาวเชียงใหม่ เราเป็นกลุ่มพิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญา ในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย จากมูลนิธิบ้านสมานใจและมูลนิธิดุลภาทร เมื่อวันอังคารที่ 5 เมษายน 2565 เราได้พบกันในการฝึกอบรมโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิต กลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญาและครอบครัวในประเทศไทยเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ณ อ. เมือง จ. ลําพูน ด้วยการสนับสนุนจากโครงการความร่วมมือ ESCAP-APCD ครอบครัวและผู้สนับสนุน เราได้คุยกันในสถานการณ์ โควิด-19 เราใช้กลยุทธ์สามเหลี่ยมแห่งความร่วมมือทำงานร่วมกัน เพื่อเรียนรู้ทักษะสําคัญที่ช่วยให้เรามีสุขภาพดี มีความมั่นคงทางด้านอาหาร และใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ นอกจากนี้เรายังแลกเปลี่ยนถึงความกังวลและแนวคิดของเราสําหรับอนาคตกับ APCD และคนอื่นๆ ในระหว่างการฝึกอบรม เราได้เรียนรู้การทํางานร่วมกันว่ามีความสําคัญเพียงใด เราตัดสินใจที่จะร่วมมือและสร้างความสัมพันธ์กับมูลนิธิตะวันฉาย กลุ่มดาวเรือง บริษัทบลูดอท พาร์ทเนอร์ชีพ จำกัด และ APCD เพื่อช่วยให้เพื่อนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้มีสุขภาพที่ดี มีความมั่นคงทางด้านอาหาร และใช้ชีวิตได้อย่างอิสระในสถานการณ์โควิด-19 ในความร่วมมือนี้ เราจะได้ทําความรู้จักกับเพื่อนคนอื่นๆ ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในภาคต่างๆ ของประเทศ หากเราทํางานร่วมกัน เราหวังว่าเรื่องราวของเราสื่อไปถึงคนไทยมากขึ้นและคนในประเทศ อื่นๆในอนาคตเช่นกัน ความเห็นร่วมกัน โดยผู้เข้าร่วมโครงการ “การฝึกอบรมโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตกลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญาและครอบครัวในประเทศไทยเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19” วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ปา อ.เมือง จ.ลําพูน ประเทศไทย #Page 23 ข้อเสนอแนะจากกลุ่มพิทักษ์สิทธิ์ฯ ชาวกรุงเทพมหานคร เราเป็นกลุ่มพิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญา ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย พวกเรามีความตั้งใจที่จะดำรงชีวิตอิสระ และช่วยเพื่อนๆให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยตนเองได้ เรามาจากกลุ่มดาวเรือง (กลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญากลุ่มแรกในประเทศไทย) และเราใช้เวลาทั้งชีวิตกับผู้คนมากมายในสังคมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เมื่อวันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2565 เราได้พบกันในการฝึกอบรมโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตกลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญาและครอบครัวในประเทศไทยเพื่อรับมือกับสถานการณ์ โควิด-19 ณ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ด้วยการสนับสนุนโครงการจากคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิค (ESCAP) ในโครงการนี้ ครอบครัวและผู้สนับสนุนของเรา ได้คุยพบปะกับทีมวิทยากรที่ทำงานร่วมกันระหว่างฝึกอบรม เพื่อเรียนรู้ทักษะสําคัญที่จะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดี พึ่งตนเองได้ มีความมั่นคงทางอาหารและใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ มีความสุข นอกจากนี้เรายังแลกเปลี่ยนถึงความกังวลและแนวคิดของเราสําหรับอนาคตกับ APCD และวิทยากรท่านอื่นๆ ในระหว่างการฝึกอบรม เราได้เรียนรู้การทํางานร่วมกันว่ามีความสําคัญเพียงใด เราตัดสินใจที่จะร่วมมือและสร้างความสัมพันธ์ กับพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) มูลนิธิบ้านแห่งความหวัง มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย มูลนิธิบ้านสมานใจ มูลนิธิดุลภาทร กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และ APCD เพื่อช่วยให้เพื่อนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีสุขภาพดี มีความสุข พึ่งตนเองได้ มีความมั่นคงทางด้านอาหาร และใช้ชีวิตได้อย่างอิสระในสถานการณ์โควิด-19 ในความร่วมมือนี้ เราจะได้ทําความรู้จักกับเพื่อนคนอื่นๆ ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในภาคต่างๆ ของประเทศหากเราทํางานร่วมกัน เราหวังว่าเรื่องราวของเราจะสื่อไปถึงคนไทยมากขึ้นและคนในประเทศอื่นๆ ในอนาคตเช่นกัน ความเห็นร่วมกัน โดยผู้เข้าร่วมโครงการ “การฝึกอบรมโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตกลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางสติปัญญาและครอบครัวในประเทศไทยเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19” วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม 2565 ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จ.ปทุมธานี ประเทศไทย #Page 24 ข้อเสนอแนะ จาก ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ศพอ.) โครงการความร่วมมือ ESCAP-APCD ได้ดําเนินงานภายใต้หัวข้อ “การปกป้องและส่งเสริมความเข้มแข็งของคนพิการในบริบทของการแพร่ระบาดของโควิด-19” โดยได้เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 โครงการนี้มุ่งเน้นที่ “การพัฒนาการพึ่งพาตนเองของผู้พิทักษ์สิทธิ์คนพิการทางสติปัญญาและครอบครัวในประเทศไทย” โครงการนี้ประสบความสําเร็จเป็นอย่างดี โดยศพอ.ได้ร่วมกับกลุ่มดาวเรือง มูลนิธิบ้านสมานใจ และมูลนิธิดุลภาทร ซึ่งถือเป็นกลุ่มองค์กรที่ได้รับประโยชน์โดยตรง รวมทั้งได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานซึ่งทำงานด้านความมั่นคงทางอาหารและการใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเองเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ ศพอ. และเครือข่ายในประเทศไทยประมาณ 30 หน่วยงาน ได้เข้าร่วมการประชุมเครือข่ายในประเด็น บทเรียนที่ได้รับจากโครงการนี้ ในการประชุมออนไลน์เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 เครือข่าย ศพอ. ในไทยได้ตระหนักถึงการสนับสนุนแนวทางการพึ่งพาและพิทักษ์สิทธิ์ของตนเอง ความมั่นคงด้านอาหาร รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง และการใช้ชีวิตอิสระ ของกลุ่มบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและครอบครัว ซึ่งถือเป็นความสําเร็จของโครงการฯ ศพอ.มีข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาศักยภาพคนพิการทางสติปัญญาและความพิการอื่นๆ ที่มองไม่เห็นโดยประจักษ์ หรือที่เราเรียกบุคคลกลุ่มนี้ว่าเป็น กลุ่มคนพิการเกิดใหม่ในสังคม ที่จะต้องทำให้พวกเขาสามารถมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีในสังคม และได้รับการเสริมสร้างศักยภาพต่อไป ตามข้อเสนอต่อไปนี้ 1.ให้การเผยแพร่ความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพ ในด้านส่งเสริมการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดี มีความมั่นคงด้านอาหาร และใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ เป็นแนวโน้มใหม่ ในการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการพัฒนาการทํางานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง 2.สนับสนุนแนวทาง ยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมแห่งความร่วมมือ (Triangle Collaboration Strategy: TCS) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับสิทธิของคนพิการทางสติปัญญาผ่านการทํางานร่วมกันอย่าง มีประสิทธิภาพระหว่างผู้พิทักษ์สิทธิ์ สมาชิกครอบครัว และผู้สนับสนุน เพื่อให้ผู้พิทักษ์สิทธิ์กลายเป็นผู้นํารุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ 3.สร้างความมุ่งมั่นและการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ในกลุ่มของผู้ปฏิบัติงานและเครือข่าย ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงคนพิการทางสติปัญญาเองเพื่อเปลี่ยนทัศนคติพวกเขาว่า “หากพวกเรา คนพิการทางปัญญาร่วมกัน เราทําได้” เน้นให้พวกเขามีความมั่นใจในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับครอบครัวและชุมชน 4.ชุมชนท้องถิ่นต้องพยายามร่วมกันส่งเสริมยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมแห่งความร่วมมือ (TCS) โดยมุ่งส่งเสริมการมีสุขภาพดี ความมั่นคงด้านอาหาร และการใช้ชีวิตอิสระในสังคม เพื่อพัฒนากลุ่มคนพิการอื่นๆ ที่มองไม่เห็นโดยประจักษ์ด้วย 5.ขยายผลและต่อยอดรูปแบบการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการทางสติปัญญาและกลุ่มพึ่งตนเองของคนพิการทางสติปัญญา รวมถึงสร้างและขยายโอกาสจากประเทศไทยไปยัง ประเทศอื่นๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ด้วยการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ (ESCAP)และพันธมิตรด้านการพัฒนาสังคมระหว่างประเทศ ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก 255 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทรศัพท์ : 02 354 7505 โทรสาร : 02 354 7507 เวบไซต์ : www.apcdfoundation.org อีเมล : info@apcdfoundation.org