Search # to go to Page Seach * to go to Sections โครงการพิเศษเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน ปี 2564 สนับสนุนโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) คู่มือ HAPI-IE เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับบุคคลออทิสติก ผู้พิการทางสติปัญญา และผู้บกพร่องทางจิต ในประเทศอาเซียนเพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 Logos: Japan International Cooperation Agency (TICA), APCD, University of Tsukuba Flags: Cambodia, indonesia, Laos, Malaysia, Myanmar, Philippines, Thailand, Vietnam, Japan #Page 2 คู่มือ HAPI-IE เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับบุคคลออทิสติก ผู้พิการทางสติปัญญา และผู้บกพร่องทางจิตในประเทศอาเซียน เพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ศพอ.) กรุงเทพฯ ประเทศไทย Phone +66 (0)23547506 • +66 (0)23547507 www.apcdfoundation.org #Page 4 คำกล่าวนำ ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งกับความสำเร็จของการฝึกอบรม (Workshop) ทั้งสามครั้งและการจัดทำหนังสือคู่มือเล่มนี้ โครงการนี้ถือกำเนิดขึ้นภายใต้โปรแกรมขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือองค์กร JICA (Japan International Cooperation Agency) ที่เรียกว่าโครงการเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน (Community Empowerment Program: CEP) ซึ่งมีวัตถุประสงค์สนับสนุนกิจกรรมระดับรากหญ้า ในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผมรู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นเด็กๆพิการได้ออกกำลังกายและเล่นเกมต่างๆ ที่หลากหลายด้วยรอยยิ้มทั้งในระหว่างการฝึกอบรมและสื่อวีดิโอต่างๆ ผมเชื่อว่าคู่มือเล่มนี้จะมีคุณค่าสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษและครอบครัวในกลุ่มประเทศอาเซียนเพราะว่าคู่มือเล่มนี้เป็นการรวบรวมความรู้ ประสบการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรักที่มีให้กับเด็กทุกคนจากบรรดาผู้เข้าร่วมโครงการฯ ผลสรุปที่ชัดเจนที่สุดสำหรับโครงการนี้คือ เครือข่ายและความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน จากโครงการนี้ทำให้เรารู้ว่าเราสามารถสื่อสาร ออกกำลังกาย และหัวเราะไปด้วยกันได้ แม้จะอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผมขอขอบคุณ ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ศพอ.) ดร. Sawae และทีมวิทยากรทุกท่านจากมหาวิทยาลัย Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น และองค์กรอื่นๆ ที่มีส่วนร่วม ได้ทุ่มเทและสนับสนุนโครงการฯ ผมหวังว่าทุกคนจะสนุกไปกับการออกกำลังกายที่บ้านตามคู่มือเล่มนี้นะครับ! Mr. Morita Takahiro หัวหน้าผู้แทนสำนักงาน JICA ประเทศไทย #Page 5 ผมศึกษาและทำงานด้านการส่งเสริมพัฒนาการเคลื่อนไหวในเด็กพิการที่มหาวิทยาลัยTsukuba ในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงปลายเดือนเมษายนปี พ.ศ. 2563 โรงเรียนและสถานศึกษาในประเทศถูกสั่งห้ามดำเนินกิจกรรมนอกสถานที่ ทำให้กิจกรรมที่เตรียมไว้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องด้านพัฒนาการต้องถูกยกเลิกไป หลังจากนั้นผู้ปกครองของเด็กเหล่านั้น ซึ่งเป็นผู้ร่วมกิจกรรมหลักของพวกเราต่างบ่นกันว่าบุตรหลานของพวกเขารับประทานอาหารมากเกินพอดีขณะที่อยู่บ้าน ไม่อยากยืดแข้งยืดขา และรู้สึกกระวนกระวายใจเพราะพวกเขาไม่มีกิจวัตรประจำวันให้ทำเช่นเคย ซึ่งต่างไปจากเดิม แม้แต่ตัวของผู้ปกครองเองยังรู้สึกเครียดและกังวลต่อการรับมือสถานการณ์ที่พวกเขาไม่เคยได้ประสบพบเจอมาก่อนเช่นนี้ ดังนั้น ผมจึงระดมพลผู้ร่วมงานและคิดแผนการเพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะบกพร่องด้านพัฒนาการให้สนุกไปกับการทำกายบริหารและดำเนินชีวิตอย่างมีสุขภาพที่ดีท่ามกลางบริบทเช่นนี้ โดยแผนนี้จะทำกิจกรรมออนไลน์นั่นเอง แม้ว่าผมไม่ได้มีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี ผมจึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้วยตนเองผ่านการลองผิดลองถูก โดยผมจะคำนึงถึงเด็กๆและผู้ปกครองอยู่เสมอ “ความจำเป็นคือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้” เนื้อหาของคู่มือฉบับนี้มีพื้นฐานมาจากประสบการณ์ของผมและเพื่อนร่วมงาน เป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำตามข้อชี้แนะที่เขียนไว้ในคู่มือทุกกระเบียดนิ้ว คุณสามารถดัดแปลงหรือประยุกต์เนื้อหาให้มันสนุกสำหรับเด็กๆ ที่เข้าร่วมโครงการได้ ผมและคณะทำงานได้ลองผิดลองถูกหลายครั้งแล้ว ทางเราจึงอยากให้พวกคุณทดลองหลายๆ ครั้งเพื่อที่จะพัฒนาเนื้อหาให้เป็นอะไรที่ดีกว่าสำหรับลูกหลาน ซึ่งการทดลองและการปรับปรุงเนื้อหาเช่นนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสำหรับพวกเรา รศ. ดร. Sawae Yukinori นักจิตวิทยาพัฒนาการคลินิก คณะสุขศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัย Tsukuba #Page 6 ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ศพอ.) ขอขอบคุณองค์กร Japan International Cooperation Agency (JICA) และมหาวิทยาลัย Tsukuba เป็นอย่างยิ่งสำหรับความร่วมมือ การสนับสนุนและทุ่มเทให้กับโครงการ “การส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับบุคคลออทิสติก ผู้พิการทางสติปัญญา และผู้บกพร่องทางจิตในประเทศอาเซียนเพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19” ผลลัพธ์ที่สำคัญยิ่งของโครงการนี้คือ คู่มือสำหรับการเสริมพลังพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กพิการที่มองไม่เห็นเชิงประจักษ์ เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายของพวกเขา คู่มือเล่มนี้ได้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษรวมถึงภาษาประจำชาติในประเทศสมาชิกอาเซียน เราเชื่อว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์และมีข้อมูลสำคัญที่จะช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายของเราในภูมิภาคอาเซียนให้มีสุขภาพดีในระหว่างและหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เราขอขอบคุณความร่วมมือจากองค์กรเครือข่ายในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ เครือข่ายออทิสติกอาเซียน (ASEAN Autism Network: AAN) เครือข่ายคนพิการทางสติปัญญาในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(United Intellectual Disability Network in the Mekong Sub-region: United ID) สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย (Association for the Mentally Ill of Thailand: AMIT) สมาคมผู้ปกครองคนพิการทาง สติปัญญาแห่งประเทศไทย (Association for Parents of Person with Intelligence Disability in Thailand: APID) สมาคมออทิสติกสามัคคีไทย (Autistic United Association Thailand: AUAT) ทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้งอย่างแข็งขันและได้ให้ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงคู่มือเล่มนี้ แต่น่าเสียดายที่เครือข่ายของเราจากประเทศบรูไนและสิงคโปร์ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ เราเชื่อว่าโครงการนี้จะสมบูรณ์แบบมากขึ้นหากทั้งสองประเทศสามารถเข้าร่วมได้ เรามีความมั่นใจว่าโครงการนี้จะเป็นแบบอย่างในการทำงานกับองค์กรที่เกี่ยวข้องและเครือข่ายที่หลากหลายทั้งจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศในอาเซียน เพื่อที่จะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ดีสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ที่ทุกคนในภูมิภาคของเรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ นายพิรุณ ลายสมิต ผู้อำนวยการบริหาร ศพอ. #Page 7 บทที่ 1 แนะนำคู่มือ CEP คืออะไร? โครงการเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน (CEP) เป็นโครงการที่ริเริ่มเพื่อสนับสนุนและเสริมพลังแก่ กลุ่มเปราะบาง รวมถึงผู้พิการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระดับรากหญ้า แหล่งทรัพยากรได้จากที่ไหนบ้าง? โครงการนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การ JICA ประจำประเทศไทย โดย ศพอ. เป็น ผู้ประสานงานและดำเนินโครงการในขณะที่มหาวิทยาลัย Tsukuba เป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทั้งสามองค์กรทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการวางแผน การปฏิบัติการ และการติดตามประเมินผล #Page 8 ทำไมเราต้องทำโครงการนี้เพื่อเด็กพิการและครอบครัวในประเทศอาเซียน ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เด็กและเยาวชนหลายคนตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงทางสุขภาพทั้งทางสุขภาพกายและสุขภาพใจ เป็นสิ่งที่น่ากังวลสำหรับครอบครัวของพวกเขาเป็นอย่างมาก พวกเขารับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ มีการเคลื่อนไหวที่จำกัด ใช้งานเทคโนโลยีเกินความเหมาะสม และเข้านอน ซึ่งทำให้มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และมีอารมณ์แปรปรวน นอกจากนั้นก็ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว จนส่งผลกระทบความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวในที่สุด “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ” ข้อ 30: การมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม นันทนาการ การผ่อนคลายยามว่าง และกีฬา ผู้พิการทุกคนล้วนแล้วแต่มีสิทธิเท่าเทียมในการมีส่วนร่วมและสนุกสนานกับศิลปะ กีฬา เกมภาพยนตร์ และกิจกรรมนันทนาการอื่นๆ ดังนั้น กิจกรรมทางพลศึกษาจึงต้องเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้โดยทุกคน รวมทั้งเด็กพิการทุกประเภทไม่ว่าจะในเวลาหรือสถานที่ใดๆ ก็ตาม คู่มือนี้เป็นเครื่องมือเพื่อส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมสำหรับเด็กออทิสติก พิการทางสติปัญญา และบกพร่องทางจิตร่วมกับคนในครอบครัว โดยประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขอให้พวกเราได้มีความสุขในการออกกำลังกายและได้เห็นรอยยิ้มของเด็กๆ #Page 9 บทที่ 2 วิธีการใช้คู่มือ 2.1 หลักการของคู่มือ 1)คู่มือฉบับนี้มุ่งหมายที่จะแนะนำการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีผ่านการออกกำลังกายในช่วงการล็อกดาวน์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 2)คู่มือนี้ส่งเสริมให้พ่อแม่ คนในครอบครัว ครูอาจารย์ หรือผู้ปกครองให้ช่วยเติมเต็มและเล่นสนุกกับเด็กๆ ที่บ้านของพวกเขา 3)เราใช้การปฏิสัมพันธ์ผ่านออนไลน์ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และการออกกำลังกายในช่วงล็อกดาวน์ที่เกิดจากโควิด-19 เพราะการฝึกปฏิบัติในสถานที่จริง และการเดินทางไปมาระหว่างประเทศนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ 4)ถึงแม้ว่าชื่อของโครงการนี้คือ “ส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับบุคคลออทิสติก ผู้พิการทางสติปัญญาและผู้บกพร่องทางจิตเพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19” หากเราต้องการจะกล่าวถึง พวกเขาเหล่านั้นในคู่มือนี้ เราจะใช้คำว่า “เด็กๆ”แทน มาเริ่มออกกำลังกายแบบออนไลน์ด้วยการใช้สิ่งของที่มีอยู่แล้วในบ้านกับพวกเรากันเถอะ! #Page 10 2.2 วิธีการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายผ่านโปรแกรม Zoom Zoom คือโปรแกรมการติดต่อสื่อสารแบบวีดิโอคอลและคุยสื่อสารได้ ใช้ประโยชน์ง่ายๆ คือ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใน 40 นาทีแรก •ใช้งานง่ายและสนุก •เป็นที่นิยม •มีความเป็นสากล ลงทะเบียนการใช้งานกับซูมได้อย่างไร? 1.ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือคุณสามารถลงทะเบียนได้ด้วยการ •สร้างบัญชีผู้ใช้ใหม่ด้วยที่อยู่อีเมลและรหัสผ่านของคุณเอง •เข้าใช้งานด้วยระบบ Single Sign-on (SSO) หรือบัญชีกูเกิลหรือเฟซบุ๊คของคุณ. 2.เข้าสู่ระบบ เราจะเข้าร่วมการประชุมซูมได้อย่างไร? เข้าร่วมด้วยลิงก์ URL ที่ได้รับจากผู้จัดงาน คลิกลิงก์และ กรอก Meeting ID ที่ได้รับจากผู้จัดงาน #Page 11 ขั้นตอนที่ 1 เปิดแอพพลิเคชั่น Zoom และคลิกไอคอนที่มีคำว่า “Join” ขั้นตอนที่ 2 กรอก Meeting ID ลงในช่องว่าง ใส่ชื่อของคุณ และคลิกไอคอน “Join” #Page 12 วิธีการจัดการประชุมด้วย Zoom ขั้นตอนที่ 1 สำหรับการจัดการประชุม คลิกไอคอนรูปปฏิทิน #Page 13 ขั้นตอนที่ 2 กรอกข้อมูลทั้งหมดลงในหน้าต่างพอปอัป “Schedule Meeting” ขั้นตอนที่ 3 เมื่อคุณกรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้องเสร็จแล้ว คลิกปุ่ม “Schedule” ที่มุมขวาล่างของหน้าต่าง #Page 14 2.3 การจัดเตรียมอุปกรณ์การสอน สิ่งของเครื่องใช้ที่พบได้ในบ้านของคุณสามารถนำมาประยุกต์เป็นอุปกรณ์ที่ดีเยี่ยมสำหรับกิจกรรมในคู่มือฉบับนี้ เราแนะนำให้คุณเตรียมสิ่งของดังต่อไปนี้ หนังสือพิมพ์ หน้ากาก เทปกาว ถุงพลาสติก เสื่อโยคะ ฯลฯ กิจกรรมเชิงกายภาพควรเป็นสิ่งที่สนุกสนาน ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และเป็นสิ่งที่เด็กๆ มีความต้องการที่จะทำด้วยตนเอง ในขณะเดียวกัน เครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสื่อสาร อาทิเช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่อยู่อีเมล การเชื่อมต่อกับสัญญาณอินเตอร์เน็ต และโปรแกรม Zoom ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมเหล่านี้เช่นกัน 2.4 การจัดกิจกรรมออนไลน์ • คิดค้นริเริ่มจัดการประชุม/ กิจกรรม • แจกจ่ายลิงก์ให้แก่ผู้เข้าร่วมหรือผู้ที่สนใจ • จัดการประชุม/กิจกรรม รวมถึงกิจกรรมย่อยในแต่ละหัวข้อ • แนะนำกำหนดการกิจกรรม และอธิบายให้ผู้เข้าร่วมฟังว่ากิจกรรมมีอะไรบ้าง? ต้องทำอะไรบ้าง? • จัดการแปลภาษา ความหมาย และอธิบายขยายความเพิ่มเติม (ถ้าจำเป็น) • ให้ข้อมูล/บรรยาย • สิ้นสุดกิจกรรมและชี้แจงกำหนดการในครั้งต่อไป สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับวิธีการ กระบวนการ ขั้นตอน และตัวอย่างของกำหนดการกิจกรรมกรุณาอ่านใน “ภาคผนวก” ของคู่มือ #Page 17 บทที่ 3 ตัวอย่างกิจกรรมการออกกำลังกาย ขอขอบคุณการสนับสนุนจากคณะวิทยากรญี่ปุ่นและองค์กรเครือข่ายในชาติอาเซียนที่ได้ให้ข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นอันล้ำค่าในการพัฒนากิจกรรมแบบเรียบง่าย ทำตามได้ และมีความสนุกสนานสำหรับคู่มือฉบับนี้ #Page 18 1)การอบอุ่นร่างกายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ยืดและคลายกล้ามเนื้อแบบที่ 1 หลักการ: เรามายืดแข้ง ยืดขาเพื่อลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บกันเถอะ! เริ่มได้! นับ5 วินาที! เหลือเวลาอีกนิดเดียว! อีก 1 วินาที! เอาล่ะ พอ! จุดสำคัญ •ทั้งตัวของคุณต้องอยู่ในหน้าจอนะ! •ใช้นิ้วมือของมือข้างที่งอข้อศอกนับเวลาถอยหลัง 5,4,3,2,1 ถ้ากายบริหารท่านี้ยากเกินไป แบ่งลำดับขั้นตอน ให้เป็นขั้นย่อยๆ 1. เหยียดแขนซ้ายพาดหน้าอก 2. เหยียดแขนขวาใต้แขนซ้าย 3. พับแขนขวา เก็บแขนซ้าย หันหลังมือขวาไปหน้ากล้อง 4. ทำซ้ำอีก แต่สลับข้างกัน กดดูลิงก์ URL ของวิดีโอที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=zCs25aAWuNY #Page 19 2)การอบอุ่นร่างกายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ยืดและคลายกล้ามเนื้อแบบที่ 2 หลักการ: เรามายืดด้านข้างลำตัวเพื่อลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บกันเถอะ! งอข้อศอก จับข้อศอก! บิดตัวไปด้านข้าง! พยายามชื่นชมเด็กด้วยการพูด “เก่งจังเลย” เป็นการกระตุ้นและให้กำลังใจเมื่อพวกเขาสามารถทำท่าทางได้เหมือนหรือคล้ายกับตัวอย่าง ถ้ากายบริหารท่านี้ยากเกินไป แบ่งการออกกำลังกายเป็นขั้นตอนย่อยๆตามที่แสดงไว้ด้านบน Paste URL of the video here. https://www.youtube.com/watch?v=BAeT6TGpSVA #Page 20 3 การอบอุ่นร่างกายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ท่าโยคะ หลักการ:เรามาเล่นโยคะเพื่อการผ่อนคลายและลดความบาดเจ็บกันเถอะ! ท่าต้นไม้ ท่านักรบ ท่าวิดพื้น จับเวลาให้เด็กทำแต่ละท่าอย่างสบายๆ ตามสภาพร่างกายของแต่ละคน ระหว่างการยืดแขนหรือขา จะเป็นการที่ดีถ้าสามารถทำให้เห็นทั้งตัวได้โดยคุณสามารถปรับมุมกล้องให้เห็นได้ทั่วถึง ถ้ากายบริหารท่านี้ยากเกินไป ใช้มือยันกับผนังหรือให้คนอื่นช่วย(ด้วยการจับหรือยึดเขา)ก็ได้นะ Paste URL of the video here. https://www.youtube.com/watch?v=_UnwuiFBNgk #Page 21 4)เล่นโยนบอล หลักการ:เป่าลมใส่ถุงพลาสติกที่สามารถหาได้ที่บ้านเพื่อทำลูกบอล ปิดปากถุงให้แน่น แล้วโยนมันขึ้นไป พอจะตกลงมา ให้เราตีมันกลับขึ้นไปด้วยมือและข้อศอกก็ได้ เพื่อเลี้ยงถุงไว้ไม่ให้ตกพื้น เป่าลมใส่เข้าไปในถุง โยนถุงไปมาด้วยมือทั้งสอง ตีถุงขึ้นไปด้วยข้อศอก เรามาดูกันว่าเราจะโยนได้กี่ครั้งภายใน 20 วินาที! พยายามชมเด็กๆว่า “เยี่ยมไปเลย” แม้ว่าพวกเขาจะทำได้แค่ครั้งเดียวก็ตาม ถ้ากายบริหารท่านี้ยากเกินไป ใช้สิ่งของประเภทอื่น เช่น ลูกโป่งจริง ถ้ากายบริหารท่านี้ง่ายเกินไป • นอกเหนือจากการโยนถุงด้วยมือแล้ว ลองโยนถุงด้วยร่างกายส่วนอื่นๆ เช่น ข้อศอก หัวไหล่ เท้า หรือศีรษะ Paste URL of the video here. https://www.youtube.com/watch?v=zh4ndJu19Yg&t=3s #Page 22 5)เกมทรงตัว หลักการ:เกมทรงตัวจะใช้สิ่งของที่เรามีอยู่แล้วที่บ้าน เช่น หนังสือพิมพ์ม้วนเป็นท่อน มาทดสอบว่าเราจะทำให้สิ่งของต่างๆตั้งอยู่กับเราได้นานแค่ไหน? หนังสือพิมพ์ม้วนเป็นท่อน ขวดน้ำพลาสติก หนังสือ ถ้ากายบริหารท่านี้ยากเกินไป •หาสิ่งของที่ทรงตัวดี เพื่อให้รักษาสมดุลง่ายกว่านี้ เช่น ถ้วยพลาสติก ถ้ากายบริหารท่านี้ง่ายเกินไป •ใช้ส่วนอื่นๆของร่างกายในการวางสิ่งของ เช่น ศีรษะ แผ่นหลัง เท้า เป็นต้น Paste URL of the video here. https://www.youtube.com/watch?v=uWvkMkaJ7-g&t=3s #Page 23 6) Sidestep (ไซด์สเต็พ) หลักการ: เกมนี้เราต้องหาอุปกรณ์ลักษณะแท่ง เช่น ดินสอหรือปากกาประมาณ 6 แท่งที่วางห่างกัน ประมาณสองเมตรจากถ้วยตรงกลาง หลังจากสัญญาณดังขึ้นให้เอาแท่งดินสอหรือปากกาใส่ลงในถ้วย โดยต้องใส่ที่ละแท่ง โดยใช้การขยับตัวไปทางด้านข้างทั้งขวาและซ้าย พร้อมแล้วหรือยัง? งั้นเริ่มได้! หยิบแท่งต่างๆ จับใส่แก้ว ถ้ากายบริหารท่านี้ยากเกินไป •ลดระยะห่างระหว่างถ้วยกับแท่งอุปกรณ์ ถ้ากายบริหารท่านี้ง่ายเกินไป • ให้ก้าวเท้าด้วยรูปแบบอื่นๆ เช่น กระโดดขาเดียว หมุนตัว และขอให้สังเกตการเคลื่อนไหวของเด็กด้วย Paste URL of the video here. https://www.youtube.com/watch?v=ggSWLe_M1ks&t=4s #Page 24 7)เกมโยนห่วง หลักการ: สำหรับเกมนี้ เราจะทำห่วงกระดาษและโยนมันเพื่อสวมใส่มือ เท้า หรือหัวของคู่หูเราที่ยืนห่างไปประมาณสองเมตรขึ้นไป ทำห่วงกระดาษ กะระยะเป้าหมาย โยนเลย 4 จุด! คะแนนเต็ม 4 คะแนน โยนห่วง 4 อันให้สวมลงที่มือทั้งสองข้าง ศีรษะ และขาของผู้รับ นับว่าเข้าเป้าทั้งหมดกี่อัน หนึ่งอันเท่ากับหนึ่งคะแนน ถ้าโยน 2 อันหรือมากกว่านั้นเข้าที่เดียวกันให้นับหนึ่งคะแนนเท่าเดิม ถ้ากายบริหารท่านี้ยากเกินไป •ลดระยะห่างระหว่างผู้โยนกับผู้รับ •ทำห่วงให้ใหญ่กว่าเดิม ถ้ากายบริหารท่านี้ง่ายเกินไป • เพิ่มระยะระหว่างผู้โยนกับผู้รับ • ให้ผู้รับเคลื่อนไหวตัวไปมา Paste URL of the video here. https://www.youtube.com/watch?v=j2dEs29Vy0U&t=11s #Page 25 8) กระโดดลอดห่วง หลักการ: เรามากระโดดลอดห่วงกระดาษขนาดใหญ่กันเถอะ เหมือนกับกระโดดเชือกปกติเลยนะ ทำห่วงกระดาษอันใหญ่ เมื่อห่วงมาถึงเท้าของเรา กระโดดลอดให้ผ่านห่วง! เรามาดูกันเถอะว่าเราจะกระโดดลอดได้กี่ครั้งภายใน 20 วินาที ถ้ากายบริหารท่านี้ยากเกินไป • สอดขาลอดห่วงทีละหนึ่งข้าง • ใช้ห่วงขนาดใหญ่กว่านี้ ถ้ากายบริหารท่านี้ง่ายเกินไป • ลองกระโดดถอยหลังลอดห่วงดู • ท้าทายตัวเองด้วยการจับเวลาให้นานกว่าเดิม Paste URL of the video here. https://www.youtube.com/watch?v=iWh2MvkEH_Q&t=5s #Page 26 9) เกมส์ปราบสัตว์ประหลาด! หลักการ: เราจะมาปราบสัตว์ประหลาดด้วยการเตะและต่อยมันกัน พวกมันจะปรากฏที่มุมหน้าจอ เด็กๆต้องช่วยเตะและต่อยมันจนกว่ามันจะหายไป ทำหน้ากาก ให้เด็กๆเตะและต่อยสัตว์ประหลาดที่หน้าจอ เด็กๆ ทุกคนต้องรู้วิธีเตะและต่อยก่อนเริ่มกิจกรรมกายบริหารนี้ ขอเสนอให้จัดกิจกรรมในรูปแบบนี้: • ทุกคนต้องเตะสัตว์ประหลาดสีแดง และต่อยสัตว์ประหลาดสีน้ำเงิน ถ้ากายบริหารท่านี้ง่ายเกินไป •ทำให้สัตว์ประหลาดหัวเราะด้วยการทำสีหน้าตลก ๆ ยิ้ม หัวเราะ หรือทำสัญลักษณ์มือว่า “รัก” ให้สัตว์ประหลาดเป็นมิตรด้วย Paste URL of the video here. https://www.youtube.com/watch?v=GAHkxGWGm-I&t=2s #Page 27 10)รำวง หลักการ: เพลงงามแสงเดือนเป็นเพลงรำวงมาตรฐานที่เป็นที่รู้จักในหมู่คนไทย ผู้รำจะต้องรำเป็นคู่วนรอบซึ่งกันและกันตาม ท่วงทำนองดนตรี ถ้ากายบริหารท่านี้ยากเกินไป • ให้แกว่งมือขึ้นลงระหว่างเดินเป็นวงกลมแทน “กิจกรรมนี้ช่วยให้เด็กๆได้ผ่อนคลาย เรียนรู้เกี่ยวกับร่างกายของพวกเขา (รวมทั้งด้านซ้าย-ขวา) กระตุ้นสมอง และมีสัมพันธภาพที่ดีกับครอบครัว” Paste URL of the video here. https://www.youtube.com/watch?v=WtPrzQTt1KI&t=1s #Page 29 บทที่ 4 คำถามที่พบบ่อยบทเรียนของโครงการฯและความร่วมมือในอนาคต คำถามที่พบบ่อย ใครคือผู้ได้รับประโยชน์หลักจากคู่มือนี้? ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เราได้จัดทำคู่มือฉบับนี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีภาวะออทิสติก พิการทาง สติปัญญา บกพร่องทางจิต และบุคคลอื่นๆ ที่มีความประสงค์ที่จะออกกำลังกายแต่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ คู่มือฉบับนี้ยังส่งเสริมให้ ผู้ปกครองกระตุ้นเด็กๆให้ออกกำลังกายที่บ้านของพวกเขาอีกด้วย Zoom และ คู่มือเกี่ยวข้องกันอย่างไร? Zoom เป็นแพลตฟอร์มบนโลกออนไลน์ที่สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างความตระหนัก เผยแพร่ความรู้และทักษะอื่นๆ จากผู้เชี่ยวชาญสู่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ คู่มือเล่มนี้เป็นเอกสารอ้างอิงที่ได้รวบรวมเนื้อหาสาระสำคัญในการส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกาย ซึ่งเราได้จัดทำขึ้นทั้งในรูปแบบของรูปเล่มหนังสือ(Hard copy) และรูปแบบดิจิทัล คู่มือเล่มนี้จะเผยแพร่ข้อมูลและให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองหรือผู้อ่านในการทำกิจกรรมออกกำลังกายที่บ้าน #Page 30 เราควรจะให้เด็กๆพิการออกกำลังกายบ่อยแค่ไหน? โดยปกติแล้ว เด็กต้องการการออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 60 นาที อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายควรเป็นไปอย่างสุดความสามารถเป็นจำนวนอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์โดยใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาทีโดย ทำกายบริหารตามคู่มือนี้อย่างครบถ้วน และพ่อแม่ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตขีดจำกัดของบุตรหลานของท่านในการออกกำลังกายด้วย อะไรคือวัตถุประสงค์หลักของการออกกำลังกายและการส่งเสริมสุขภาพของเด็กหรือผู้พิการในการรับมือโควิด-19? วัตถุประสงค์หลักคือการส่งเสริมให้เด็กๆได้ขยับร่างกาย ค้นหาว่าสิ่งใดสนุกสำหรับพวกเขา ส่งเสริมสุขภาพที่ดี การเข้าร่วมสังคม และให้พวกเขาได้ยิ้มกับทุก ๆ วันของชีวิต! สิ่งที่ได้เรียนรู้ 1.การประเมินสถานการณ์ที่ถูกต้องและแม่นยำเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการแก้ปัญหาอย่างถูกต้องหรือสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องการข้อมูลที่แม่นยำและชัดเจนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ เพื่อการตอบสนองอย่างถูกวิธี 2.การใช้งานโปรแกรมประชุมทางไกลออนไลน์ต่างๆ เช่น Zoom ได้กลายเป็นวิธีการสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ในโลกแห่งความปกติใหม่ ในฐานะที่เราเป็นองค์กรหลักในการดำเนินการพัฒนาสังคมและสนับสนุนผู้ด้อยโอกาส เรามีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาการใช้งานโปรแกรมเหล่านี้อย่างมืออาชีพ #Page 31 3.ในโครงการนี้ ศพอ.เป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกระหว่างองค์กรต่างๆ (JICA มหาวิทยาลัยTsukuba เครือข่ายออทิสติกอาเซียน เครือข่ายคนพิการทางสติปัญญาในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ฯลฯ) ศพอ.ได้ผนึกกำลังและศักยภาพของแต่ละองค์กรเพื่อให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี 4.คู่มือนี้จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ปกครองและสมาชิกในครอบครัวในการมีปฏิสัมพันธ์กับบุตรหลานและส่งเสริมความสัมพันธ์ภายในครอบครัวโดยใช้สิ่งของที่หาได้ในครัวเรือน 5.โครงการนี้จะเป็นต้นแบบในการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเครือข่ายในประเทศญี่ปุ่นและประเทศสมาชิกอาเซียน เพราะสามารถแสดงแนวทางปฏิบัติที่ดีในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกสำหรับผู้พิการหรือกลุ่มเปราะบางในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ความร่วมมือในอนาคต 1.ขยายผลและเผยแพร่คู่มือของโครงการนี้ทั้งในวงกว้าง เช่น ภูมิภาคอื่น และในวงแคบกว่า เช่น ระดับชุมชน 2.เราสามารถต่อยอดได้ด้วยการนำกรอบงานและแนวคิดจากโครงการนี้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาอื่นๆ เช่น ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร นันทนาการ การกีฬา และสุขภาพจิต รวมไปถึงกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ที่น่าจะได้รับประโยชน์จากบทเรียนของโครงการนี้ #Page 33 บทที่ 5 ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในประเทศอาเซียน “ผมสนุกทุกครั้งที่ได้ออกกำลังกายครับ!” (เด็กชาย อายุ 6 ขวบ) “เราได้ทำความรู้จักกับผู้ปกครองคนอื่นๆที่มีความกังวลเหมือนกับเรา ผมจึงหวังว่ากิจกรรมดี ๆ อย่างนี้จะถูกสานต่อไปเรื่อย ๆ หลังจากวิกฤติโควิดนะครับ” (พ่อ) กัมพูชา “ความคิดริเริ่มนี้ได้แก้ปัญหาตรงประเด็นอย่างยิ่ง มันเป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครองของบุคคลออทิสติกในอินโดนีเซียและทั้งอาเซียนอีกด้วย แม้ว่าเราจะอยู่ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 กิจกรรมทางกายยังเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาโดยสมบูรณ์ เวิร์กช็อปทั้งสามที่เราได้ทำร่วมกันนั้นยอดเยี่ยมจริง ๆครับ!” (สมาชิกครอบครัวของเด็กออทิสติกในอินโดนีเซีย) อินโดนีเซีย “กิจกรรมกายบริหารนั้นเป็นระบบและง่ายต่อการปฏิบัติตาม ผมออกกำลังกายกับลูกของผมที่เป็นออทิสติก ผมชอบการยืดแข้งยืดขา โยคะ และการโยนบอลเป็นพิเศษครับ ผมตั้งใจที่จะเผยแพร่คู่มือฉบับนี้ให้องค์กรที่เกี่ยวกับคนออทิสติกอื่นและผู้ปกครองของเด็กออทิสติกด้วย” (พ่อของเด็กออทิสติกและนายกสมาคมเพื่อบุคคลออทิสติกฯ) สปป. ลาว “ดิฉันชอบเวิร์กช็อปทั้งสามครั้งมาก ๆ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการแลกเปลี่ยนระหว่างชาติสมาชิกอาเซียน ด้วยค่ะ ลูกสาวดิฉันชอบโยคะ ดิฉันเลยดัดแปลงให้ท่าโยคะง่ายกว่าเดิมเพื่อให้เธอได้ทำตามอย่างสะดวก และเธอชอบเกมถุงพลาสติก (โยนบอล) นั่นมากค่ะ เพราะมันง่ายสำหรับลูกฉัน” (แม่) มาเลเซีย #Page 34 “รู้สึกมีความสุขมาก ๆ เมื่อได้รับเชิญจาก ศพอ.เป็นครั้งแรกเพราะเราพบความยากลำบากในช่วงแรกในการอยู่บ้าน และการต้องรักษาระยะห่างทางสังคม นี่เปรียบได้กับการรวมญาติที่เคยเจอกันมาก่อนในการฝึกอบรมประเทศที่ 3 ครั้งที่แล้ว (จัดโดย ศพอ.) สำหรับกิจกรรม ฉันชอบโยคะเป็นพิเศษเพราะเราสามารถผ่อนคลายและปลดปล่อยความเครียดได้ ฉันอยากเผยแพร่ประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับโยคะให้กับ สังคมผู้พิการทั้งหมด” (อาสาสมัคร) เมียนมาร์ “ในฐานะของคนเป็นแม่ ถ้าลูกของดิฉันมีความสุข ดิฉันก็มีความสุข ดิฉันได้เห็นลูกชายกระตือรือร้นต่อการออกกำลังกาย และเขาก็ยิ้มอยู่ตลอดเวลาด้วย เพียงแค่นี้ก็ดีพอสำหรับดิฉันแล้วนะคะ” (แม่) “ฉันเพิ่งรู้ว่าเราสามารถออกกำลังกายได้ด้วยวัสดุ ข้าวของเครื่องใช้ที่พบภายในบ้านได้ด้วย ฉันจะแบ่งปันการออกกำลังกายนี้ให้กับคนที่เป็นเหมือนฉันด้วย” (แม่) ฟิลิปปินส์ “ผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางจิตและครอบครัวของเขาสามารถออกกำลังกายร่วมกันที่บ้านผ่านทางแพลทฟอร์มออนไลน์ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ก็ไม่ได้หายาก และผู้เข้าร่วมยังสามารถดัดแปลงกิจวัตรการออกกำลังกายตามความเหมาะสมของตัวเองได้อีกด้วย ดิฉันได้เห็นรอยยิ้มบนใบหน้าของพวกเขาเหล่านั้น พวกเขาดูมีความสุขกาย สบายใจ และมิได้หวาดกลัวต่อโควิด-19 โครงการนี้น่าสนใจจริง ๆ ค่ะ” (นายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย) ไทย “ลูกสาวของดิฉันและฉันเองชอบเกมปราบสัตว์ประหลาด โยนบอล เกมทรงตัว และเกมไซด์สเต็พเธอมีความสุขมาก ฉันก็เช่นกัน” (แม่) “ฉันชอบเกมปราบสัตว์ประหลาดกับโยนบอลกระดาษ ฉันได้เล่นกับพ่อและแม่ มันสนุกสุดๆ” (ผู้พิทักษ์สิทธิ์พิการทางออทิสติก 32 ปี) “กายบริหารนี้ง่ายมาก เราจึงวางแผนที่จะออกกำลังกายอย่างนี้อย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์” (ครูสอนเด็กออทิสติก)“เวิร์กช็อปนี้สนุกมากๆ เลยค่ะ ดิฉันจะเอาไปสอนลูกๆ ของฉันค่ะ” (แม่) เวียดนาม #Page 35 ภาคผนวกที่ 1: • ตัวอย่าง: วิธีการจัดกิจกรรมในการฝึกอบรมออนไลน์ ในกรณีที่กิจกรรมมีระยะเวลา 60 นาที การดำเนินงานจะมีลักษณะตามนี้ 1.รวมพล 2.ทักทาย ชี้แจงกำหนดการ 5 นาที 3.อบอุ่นร่างกาย 10 นาที 4.กิจกรรมที่ 1 15 นาที <พักเบรค> 5 นาที 5.กิจกรรมที่ 2 15 นาที 6.ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 5 นาที 7.สะท้อนการเรียนรู้ 5 นาที 8.อำลาและจบกิจกรรม รวมพล •ตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับแจ้งล่วงหน้าให้เข้าร่วมกิจกรรมบนแพลตฟอร์มออนไลน์แล้ว •ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าร่วมงาน •แสดงตารางกิจกรรมบนหน้าจอ #Page 36 ทักทายและชี้แจงกำหนดการ •เป็นความคิดที่ดีหากจะเริ่มกิจกรรมด้วยบรรยากาศเชิงบวก โดยกิจกรรมเริ่มต้นด้วยการทักทายอย่างกระฉับกระเฉง •ผู้ร่วมกิจกรรมจะรู้สึกมั่นใจ พร้อม และปรับตัวเข้าหากิจกรรม เมื่อตารางเวลาถูกเผยแพร่ให้ทุกคนในช่วงเริ่มแรกของกิจกรรม อบอุ่นร่างกาย •เราควรทำกิจกรรมอบอุ่นร่างกายเพื่อหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บ •แนะนำว่าต้องอบอุ่นร่างกายในส่วนที่จะใช้ในการทำกิจกรรมหลัก ดูตัวอย่างในคู่มือฯ กิจกรรม •กำหนดจำนวนของกิจกรรมหลักจากเวลาที่คุณมี และจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่กำลังจะทำ เป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องซักซ้อมก่อนหน้าที่จะถึงเวลาจริงเพื่อจะสามารถประมาณเวลาสำหรับกิจกรรมแต่ละอย่างได้ •เลือกกิจกรรมโดยคำนึงถึงข้อจำกัดและความพิการของผู้เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมหลักควรถูกเลือกมาจากที่กำหนดไว้ให้ในหนังสือคู่มือฯ •ถ้าเด็กๆต้องการพักระหว่างกิจกรรม ควรทำตามที่เขาร้องขอ #Page 37 ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ •นี่จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่อนคลายและหลีกเลี่ยงจากอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อควรที่จะทำกิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่เน้นกับส่วนของร่างกายที่ถูกใช้ในกิจกรรมหลัก ตัวอย่างบางอันสามารถหาได้ในคู่มือฯ สะท้อนการเรียนรู้ •ถามผู้เข้าร่วมว่ากิจกรรมไหนที่พวกเขาชอบมากที่สุด อันไหนที่พวกเขาคิดว่ายากที่สุด ผลตอบรับคือสิ่งที่สำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาโครงการฯ •ถ้าคุณสามารถนำข้อคิดเห็นมาปรับปรุงในกิจกรรมครั้งต่อไปได้ ผู้เข้าร่วมจะมีกำลังใจทำมากขึ้น อำลาและจบกิจกรรม •มันเป็นไอเดียที่ดีที่จะมีสิ่งที่ทำประจำในตอนท้ายของการฝึกอบรม ร้องเพลงที่ชอบด้วยกัน หรือถ่ายรูปเซลฟี่หมู่บนจอก็เป็นอะไรที่สนุกได้ ผู้เข้าร่วมจะรู้จากกิจกรรมเหล่านี้ว่าการฝึกอบรมได้จบลงแล้ว #Page 38 ภาคผนวก ที่ 2: เอกสารแนวคิดหลักของโครงการฯ แนวคิดหลักของโครงการ “การสร้างเสริมศักยภาพผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในการรับมือกับโควิด-19” ภายใต้โครงการเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชนของ JICA ณ วันที่ 21 มกราคม 2564 ความเป็นมา มาตรา 30 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการแห่งสหประชาชาติ (CRPD) กล่าวไว้ว่า “ผู้พิการมีสิทธิในการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม นันทนาการ การผ่อนคลายยามว่าง และกีฬาบนพื้นฐานความเท่าเทียมกับบุคคลอื่น” นอกเหนือจากนี้ เป้าหมายที่สามของแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) สนับสนุนซึ่งสุขภาพและชีวิตที่ดีสำหรับทุกคนในทุกเพศทุกวัย ซึ่งหนึ่งในกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคระบาดโควิด-19 อย่างหนักหน่วงคือเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษ (รวมถึงผู้มีภาวะออทิสติก ความพิการทาง สติปัญญา ความบกพร่องทางการเรียนรู้ และภาวะบกพร่องทางจิต) ในช่วงสถานการณ์ล็อคดาวน์และนโยบายการรักษาระยะห่างทางสังคม พวกเขามักจะถูกปล่อยให้อยู่ในบ้านโดยที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสังคมภายนอก และกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่มากเพียงพอ เพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างสุขภาพและชีวิตที่ดีของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ศพอ.) จึงมีความประสงค์ที่จะร่วมมือกับวิทยากรชาวญี่ปุ่นในการพัฒนาเรื่องการพักผ่อน นันทนาการ และการกีฬาที่เข้าถึงได้โดยทุกคน ผ่านการพัฒนาหนังสือคู่มือและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ รวมถึงการสาธิตและนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มประเทศใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ชื่อโครงการ “การสร้างเสริมศักยภาพผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในการรับมือกับโควิด-19” #Page 39 หน่วยงานดำเนินการ ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ศพอ.) วัตถุประสงค์ 1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางสังคมในกิจกรรมทางกายและสุขภาพของผู้ที่มีความต้องการพิเศษ ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 2.เพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันแนวทางการปฏิบัติที่ดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทย ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและชาติสมาชิกในอาเซียนอื่นๆ ในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในช่วงระหว่างการระบาดของโควิด-19 3.เพื่อกระชับความร่วมมือและความสัมพันธ์ในเครือข่ายระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาศักยภาพของเด็กที่มีความต้องการพิเศษผ่านโครงการที่จัดขึ้นในนวัตกรรมการสื่อสารออนไลน์ในช่วงของการแพร่ระบาดโควิด-19 4.เพื่อจัดพิมพ์และสาธิตการประยุกต์ใช้กิจกรรมทางกายที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีความต้องการพิเศษในช่วงของการระบาดโควิด-19 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.การมีส่วนร่วมทางสังคมผ่านกิจกรรมทางกายและการส่งเสริมสุขภาพในผู้ที่มีความต้องการพิเศษในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน 2.มีการแลกเปลี่ยนซึ่งแนวทางการปฏิบัติที่ดีและเหมาะสมในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จากองค์กรเครือข่ายในประเทศญี่ปุ่นสู่กลุ่ม ประเทศอาเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอย่างแพร่หลายในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 3.มีการพัฒนาซึ่งความร่วมมือและเครือข่ายระหว่างหน่วยงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษผ่านนวัตกรรมออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 4.มีการจัดพิมพ์และการสาธิตวิธีการประยุกต์กิจกรรมกายบริหารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลที่มีความต้องการพิเศษในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ จะมีการแปลเอกสารในภาษาท้องถิ่นต่างๆ อีกด้วย #Page 40 กลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้มีจำนวนมากกว่า 2,000 คน ประกอบด้วยบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ผู้ปกครอง สมาชิกครอบครัว และ ผู้สนับสนุน โดยกิจกรรมจะดำเนินการผ่านการฝึกอบรมออนไลน์กับการจัดพิมพ์หนังสือคู่มือ ทั้งนี้ องค์กรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการนี้ ประกอบด้วย ประเทศญี่ปุ่น - สมาคมออทิสติกแห่งญี่ปุ่น (ASJ) - มหาวิทยาลัยTsukuba - องค์กรญี่ปุ่นอื่นๆที่ทํางานด้านการออกกําลังกายประยุกต์สำหรับบุคคลออทิสติกและผู้พิการทางสติปัญญา ประเทศในอาเซียน - เครือข่ายออทิสติกอาเซียน (AAN) SMARTER บรูไน เครือข่ายออทิสติกกัมพูชา (CAN) กัมพูชา มูลนิธิออทิสติกอินโดนีเซีย (YAI) อินโดนีเซีย สมาคมออทิสติกในสปป.ลาว (AfA ในประเทศลาว) สมาคมออทิสติกแห่งชาติมาเลเซีย (NASOM) มาเลเซีย สมาคมออทิสติกพม่า (MAA) พม่า สมาคมออทิสติกฟิลิปปินส์ (ASP) ฟิลิปปินส์ เครือข่ายออทิสติก สิงคโปร์ (ANS) สิงคโปร์ สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) (AU Thai) เครือข่ายออทิสติกเวียดนาม (VAN) เวียดนาม #Page 41 ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง -เครือข่ายคนพิการทางสติปัญญา ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเครือข่ายกลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิ์ตนเองของบุคคลที่มีความพิการทางสติปัญญาจาก กัมพูชา (กลุ่มกุหลาบ) สปป.ลาว (กลุ่มพรสวรรค์) เมียนมาร์ (กลุ่มดาวแห่งอนาคต และ กลุ่มดาวอรุณรุ่ง) ไทย (ดาวเรือง) เวียดนาม (กลุ่มอนาคตของฉัน) กลุ่มอื่นๆ สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย (APID) สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่ทำงานเพื่อ/กับผู้บกพร่องทางจิตในประเทศอาเซียน วิธีการทำงาน 1.แปลแบบสอบถามเป็นภาษาประจำชาติของประเทศต่างๆในอาเซียน 2.จัดให้ทำและส่งแบบสอบถามผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ 3.แปลคู่มือการออกกำลังกายสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ 4.จัดสัมภาษณ์ออนไลน์ (ในกรณีที่จำเป็น) 5.แลกเปลี่ยนกรณีศึกษาและแนวทางการปฏิบัติที่ดี 6.จัดการฝึกอบรมสามครั้ง 7.วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ 8.แปลคู่มือที่ทำเสร็จแล้ว เป็นภาษาประจำชาติของประเทศต่างๆในอาเซียน 9.จัดทำรายงานกิจกรรม 10.จัดส่งคู่มือไปยังประเทศต่างๆในอาเซียน #Back cover ผู้จัดงาน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) มหาวิทยาลัย Tsukuba ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ศพอ.) โดยความร่วมมือกับ เครือข่ายออทิสติกอาเซียน (AAN) เครือข่ายคนพิการทางสติปัญญา ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (United ID Mekong Network) สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย (AMIT) สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย (APID) สมาคมออทิสติกไทยสามัคคี (AUAT) สมาคมออทิสติกแห่งญี่ปุ่น (ASJ)